วันอังคารที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2555


ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์

ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนวคิดของ เจโรม บรูเนอร์
ประวัติความเป็นมา เจโรมบรูเนอร์
เจโรม บรูเนอร์ เกิดในเมืองนิวยอร์ค ในปี ค.. 1915 เป็นนักการศึกษา และนักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ซึ่งผลงานส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผลงานของเปียเจต์ บรูเนอร์มีความสนใจในเรื่องพัฒนาการการเรียนรู้ของเด็ก
บรูเนอร์มีความเชื่อว่า การเรียนรู้เป็นกระบวนการทางสังคมที่ผู้เรียนจะต้องลงมือปฏิบัติ และสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองทั้งนี้โดยมีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์หรือความรู้เดิม
ขั้นที่1 Enactive representation
ขั้นที่1 Enactive representation (แรกเกิด – 2 ขวบ ) ในวัยนี้ เด็กจะมีการพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้การกระทำเป็นการเรียนรู้ หรือเรียกว่า Enactive mode เด็กจะใช้การสัมผัส เช่น จับต้องด้วยมือ ผลัก ดึง สิ่งที่สำคัญเด็กจะต้องลงมือกระโดดด้วยตนเอง เช่น การเลียนแบบ หรือการลงมือกระทำกับวัตถุสิ่งของ ต่างกับผู้ใหญ่ ที่จะใช้ทักษะที่ซับซ้อน เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
ขั้นที่2 Iconic representation ในพัฒนาทางขั้นนี้ จะเป็นการใช้ความคิด เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ต่างๆ ที่เกิดจากการมองเห็น การสัมผัส โดยการนึกมโนภาพ การสร้างจินตนาการ พัฒนาการนี้จะเพิ่มขึ้นตามอายุของเด็ก ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งสร้างจินตนาการได้มากขึ้น การเรียนรู้ในขั้นนี้เรียกว่า Iconic mode เด็กจะสามารถเรียนรู้โดยการใช้ภาพแทนการสัมผัสของจริง บรูเนอร์ได้เสนอแนะ ให้นำโสตทัศนวัสดุมาใช้ในการสอน เช่น บัตรคำ ภาพนิ่ง เพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างจินตนาการให้กับเด็ก
ขั้นที่3 Symbolic representation ในพัฒนาการทางขั้นนี้ บรูเนอร์ถือว่าเป็นการพัฒนาการขั้นสูงสุดของความรู้ความเข้าใจ เช่น การคิดเชิงเหตุผล หรือการแก้ปัญหา วิธีการเรียนรู้ขั้นนี้เรียกว่า Symbolic mode ซึ่งผู้เรียนจะใช้ในการเรียนได้เมื่อมีความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม
แนวคิดของบรูเนอร์ที่มีอิทธิพลต่อการศึกษา
ขั้นพัฒนาการต่างๆ ที่บรูเนอร์เสนอไว้ได้นำไปสู่แนวความคิดในการจัดการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
· ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
· ระดับประถมปลาย
· ระดับมัธยมศึกษา
· ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
แนวทางในการจัดการเรียนการสอน
บรูเนอร์ได้กล่าวถึงทฤษฎีในการจัดการเรียนการสอนว่าควรประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 4 ประการ คือ
1 ผู้เรียนต้องมีแรงจูงใจภายใน มีความอยากรู้ อยากเห็นสิ่งต่างๆรอบตัว
2 โครงสร้างของบทเรียนซึ่งต้องจัดให้เหมาะสมกับผู้เรียน
3 การจัดลำดับความยาก-ง่ายของบทเรียนโดยคำนึงถึงพัฒนาการทางสติปัญญาของผู้เรียน
4 การเสริมแรงของผู้เรียน
สรุป
บรูเนอร์มีความเห็นว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจโดยผ่านกระบวน การที่เรียกว่า acting, imaging และ symbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิตมิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรกๆของชีวิตเท่านั้น   

ทฤษฎีพัฒนาการของ Havighurst ( Devolopment Talks )

ทฤษฎีพัฒนาการของ Havighurst ( Devolopment Talks )


ศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮาวิกเฮิร์ส (Robert Havighurst ) ให้ความหมายว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่มนุษย์ทุกคนต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธิ์ผลของงานพัฒนาการแต่ละวัย มีความสำคัญมากเพราะเป็นรากฐานของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
ฮาวิกเฮิร์ส ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ไว้เป็น 6 ช่วงอายุ คือ
  1. วัยทารกและวัยเด็กเล็ก
  2. วัยเด็กตอนกลาง
  3. วัยรุ่น
  4. วัยผู้ใหญ่ตอนต้น
  5. วันผู้ใหญ่ตอนกลาง
  6. วัยผู้ใหญ่ตอนปลาย
  • หลักพัฒนาการตามแนวคิดทฤษฎีนั้นเป็นอย่างไร
สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะกับตัวเอง เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต พัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
  • การนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
หลักสูตรสำหรับเด็กในระยะเริ่มแรกควรมุ่งสร้างความคิดรวบยอด โดยให้เด็กได้พบประสบการณ์ที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดจากสภาพที่เป็นจริง หลังจากนั้นจึงค่อยสร้างความคิดรวบยอดให้สิ่งที่เป็นนามธรรมต่อไปในภายหลัง เช่น ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเวลา โอกาส อำนาจรัฐบาล เป็นต้น
ในสังคมไทยเป็นสังคมที่ตระหนักในคุณค่าของกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมเป็นอันมาก ดังนั้นโรงงเรียนจึงมีบทบาทมากในการศึกษาอบรมและพัฒนาความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและให้รู้กฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข การดำเนินการของโรงเรียนอาจจะทำได้ในลักษณะต่อไปนี้
  1. โดยการสอนศีลธรรม จรรยามารยาท
  2. โดยการให้รางวัลในกรณีที่ทำความดีความชอบ และทำโทษกรณีที่ทำความผิด
  3. โดยการให้ผู้สอนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
  4. โดยการให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน
  • ทักษะทางปัญญา
-พัฒนาความสามารถในการรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น การสื่อสาร การคิดวิเคราะห์
-ทราบถึงทฤษฎีพัฒนาการของนักจิตวิทยาทั้งหกท่าน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
-พัฒนาทักษะการรู้จักเข้าใจตนเองและผู้อื่น
-มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากขึ้น
-พัฒนาทักษะการรู้จักเข้าใจตนเองในเรื่องพัฒนาการต่างๆ
-มีความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อน
ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
-พัฒนาการวิเคราะห์และการสรุปเนื้อหาทั้งในและนอกบทเรียน
- พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับนักจิตวิทยาจากอินเตอร์เน็ต
การนำไปประยุกต์ใช้
-เราสามารถที่จะสังเกตการเจริญเติบโตและพัฒนาการของคนรอบข้างค่ะ
-เราสามารถที่จะรู้ว่าการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเราตั้งแต่เด็กจนถึงผู้ใหญ่นั้นเป็นอย่างไร 




















 

ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)


ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)

ทฤษฎีจิตสังคมของอีริคสัน (Erikson)

อีริคสัน เป็นลูกศิษย์ของฟรอยด์ได้สร้างทฤษฎีขึ้นในแนวทางความคิดของฟรอยด์ แต่ได้เนินความสำคัญทางด้านสังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมด้านจิตใจ (Psychological Environment) ว่ามีบทบาทในพัฒนาการบุคลิกภาพมาก ความคิดของอีริคสันต่างกับฟรอยด์หลายประการ เป็นต้นว่า เห็นความสำคัญของ Ego มากกว่า Id และถือว่าพัฒนาการของคนไม่ได้จบแค่วัยรุ่น แต่ต่อไปจนกระทั่งวาระสุดท้ายของชีวิต คือ วัยชรา และตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ บุคลิกภาพของคนก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory) ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ

ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt)
อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt)
วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเอง จากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจากการสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority)
อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทในสังคม (Ego Identity vs Role Confusion)
อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่ระยะต้น (Young Adulthood) 























ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก





ประวัติของโคลเบิร์ก
ลอเรนส์ โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ผู้สนใจความประพฤติ ถูก-ผิด-ดี-ชั่วของมนุษย์ ทฤษฎีของโคลเบิร์กได้ชื่อทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม (Moral Development Theory)
โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมตามแนวทฤษฎีของพีอาเจต์ แต่โคลเบิรก์ได้ปรับปรุงวิธีวิจัย การวิเคราะห์ผลรวมและได้วิจัยอย่างกว้างขวางในประเทศอื่นที่มีวัฒนธรรมต่างไป
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์ก
โคลเบิร์ก ได้ศึกษาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมของเยาวชนอเมริกัน อายุ 10 -16 ปี และได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมออกเป็น 3 ระดับ (Levels) แต่ละระดับแบ่งออกเป็น 2 ขั้น (Stages) ดังนั้น พัฒนาการทางจริยธรรมของโคลเบิร์กมีทั้งหมด 6 ขั้น
ระดับที่ ระดับก่อนกฏเกณฑ์สังคม จะพบในเด็ก 2-10 ปี
โคลเบิร์กแบ่งขั้นพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ระดับจริยธรรมของผู้อื่น 

ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์สังคม จะพบในวัยรุ่นอายุ 10 -16 ปี
โคลเบิร์กแบ่งพัฒนาการ ระดับนี้เป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ การยอมรับของกลุ่มหรือสังคม
ใช้เหตุผลเลือกทำในสิ่งที่กลุ่มยอมรับโดยเฉพาะเพื่อน เพื่อเป็นที่ชื่นชอบและยอมรับของเพื่อน ไม่เป็นตัวของตัวเอง คล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น เพื่อต้องการรักษาสัมพันธภาพที่ดี พบในวัยรุ่นอายุ 10 -15 ปี ขั้นนี้แสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการเป็นที่ยอมรับของหมู่คณะ การช่วยเหลือผู้อื่นเพื่อทำให้เขาพอใจ
ขั้นที่ 4 กฎและระเบียบของสังคม













ทฤษฎีของ ออซูเบล




ทฤษฎีของ ออซูเบล






ประวัติ


ออซูเบล เป็นนักจิตวิทยาแนวปัญญานิยมที่แตกต่างจากเพียเจต์และบรูเนอร์ เพราะออซูเบลไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างทฤษฎีที่อธิบายการเรียนรู้ได้ทุกชนิด


ทฤษฎีของออซูเบลเป็นทฤษฎีที่หาหลักการอธิบายการเรียนรู้ที่เรียกว่า "Meaningful Verbal Learning" เท่านั้น โดยเฉพาะการเชื่อมโยงความรู้ที่ปรากฎในหนังสือที่โรงเรียนใช้กับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียนในโครงสร้างสติปัญญา(Cognitive Structure) หรือการสอนโดยวิธีการให้ข้อมูลข่าวสาร ด้วยถ้อยคำ


ทฤษฎีของออซูเบล

- เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย

- การเรียนรู้อย่างมีความหมาย นั่นคือ ผู้เรียนได้เชื่อมโยง(Subsumme) สิ่งที่จะต้องเรียนรู้ใหม่ หรือ ข้อมูลใหม่ กับความรู้เดิมที่มีมาก่อน


ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมาย


ออซูเบล ได้แบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ประเภทดังต่อไปนี้

- การเรียนรู้โดยการรับอย่างมีความหมาย

- การเรียนรู้โดยการรับแบบท่องจำโดยไม่คิดหรือแบบนกแก้วนกขุนทอง

- การเรียนรู้โดยการค้นพบอย่างมีความหมาย

- การเรียนรู้โดยการค้นพบแบบท่องจำโดยไม่คิด หรือแบบนกแก้วนกขุนทอง


ความหมายการเรียนรู้อย่างมีความหมาย


เป็นการเรียนที่ผู้เรียนได้รับมาจากการที่ผู้สอน อธิบายสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ให้ทราบและผู้เรียนรับฟังด้วยความเข้าใจ


การเรียนรู้อย่างมีความหมายขึ้นอยู่กับตัวแปร 3 อย่าง ดังต่อไปนี้

- สิ่ง (Materials) ที่จะต้องเรียนรู้จะต้องมีความหมาย

- ผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์และมีความคิดที่จะเชื่อมโยง

- ความตั้งใจของผู้เรียนและการที่ผู้เรียนมีความรู้ คิดที่จะเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่ให้มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างพุทธิปัญญา  
สรุป
ออซูเบล เป็นทฤษฎีกลุ่มพุทธิปัญญา เน้นความสำคัญของผู้เรียน ออซูเบลจะสนับสนุนทั้ง Discovery และ Expository technique ซึ่งเป็นการสอนที่ครูให้หลักเกณฑ์ และผลลัพธ์ ออซูเบลมีความเห็นว่าสำหรับเด็กโต (อายุเกิน11หรือ 12 ปี)นั้น การจัดการเรียนการสอนแบบ Expository technique น่าจะเหมาะสมกว่าเพราะเด็กวัยนี้สามารถเข้าใจเรื่องราว คำอธิบายต่างๆได้

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555




















ประวัติโดยสังเขปของอัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura)

อัลเบิร์ต แบนดูรา (1925-ปัจจุบัน)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ให้ความสนใจงานที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม

อัลเบิร์ต แบนดูราเกิดที่เมืองอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา
 ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย และได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางจิตวิทยาคลินิก จากมหาวิทยาลัยไอโอวา (University of Iowa) เขาสนใจทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมจากการศึกษากับเคนเนธ สเปนซี (Kenneth Spence) และรอเบิร์ต เซียร์ส (Robert Sears) หลังจากจบการศึกษาในปี 1952 แบนดูราเข้าฝึกงานที่ศูนย์แนะแนววิชิตา (Wichita Guidance Center) เป็นเวลา 1 ปี ก่อนที่จะรับตำแหน่งที่ภาควิชาจิตวิทยา ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) และทำงานที่นี่มาโดยตลอด แบนดูนาแตกต่างจากนักพฤติกรรมนิยมสุดขั้ว (radical behaviorist) จำนวนมาก เขามองว่าปัจจัยทางด้านการรู้คิด (cognitive factor) เป็นสาเหตุของพฤติกรรมของมนุษย์ งานวิจัยของเขาด้านทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมให้ความสนใจปฏิกิริยาระหว่างการรู้คิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม



ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Learning Theory) ซึ่งเป็นทฤษฎีของศาสตราจารย์บันดูรา แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford) ประเทศสหรัฐอเมริกา บันดูรามีความเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบ (Bandura 1963) จึงเรียกการเรียนรู้จากการสังเกตว่า การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือ การเลียนแบบและเนื่องจากมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบ ๆ ตัวอยู่เสมอ บันดูราอธิบายว่าการเรียนรู้เกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมในสังคม ซึ่งทั้งผู้เรียนและสิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลต่อกัน

จึงสรุปว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตจึงเป็นกระบวนการทางการรู้คิดหรือพุทธิปัญญา



บันดูราและผู้ร่วมงานได้แบ่งเด็กออกเป็น 3 กลุ่ม

1. ให้เห็นตัวอย่างจากตัวแบบที่มีชีวิต แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

2. เด็กกลุ่มที่สองมีตัวแบบที่ไม่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

3. เด็กกลุ่มที่สามไม่มีตัวแบบแสดงพฤติกรรมให้ดูเป็นตัวอย่าง ในกลุ่มมีตัวแบบแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว

การทดลองเริ่มด้วยเด็กและตัวแบบเล่นตุ๊กตา (Tinker Toys) สักครู่หนึ่งประมาณ 1 – 10 นาที ตัวแบบลุกขึ้นต่อย เตะ ทุบ ตุ๊กตาที่ทำด้วยยางแล้วเป่าลม ฉะนั้นตุ๊กตาจึงทนการเตะต่อยหรือแม้ว่าจะนั่งทับหรือยืนก็ไม่แตก สำหรับเด็กกลุ่มที่สอง เด็กเล่นตุ๊กตาใกล้ ๆ กับตัวแบบ 


สรุป

 แบนดูรายังให้ความสำคัญกับความสามารถของมนุษย์ในการสร้างสัญลักษณ์ (symbolization) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการดูตัวแบบแบบผกผัน (inverse modeling) ในการใช้ความสามารถในเชิงสัญลักษณ์ คนเราจะสร้างตัวแบบภายใน (internal modeling) ขึ้นมา เพื่อเป็นสนามจำลองของการวางแผน การแก้ปัญหา และการใคร่ครวญ และแม้กระทั่งเอื้ออำนวยการสื่อสารกับผู้อื่น อีกแง่มุมหนึ่งของทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมที่แบนดูราทำการสำรวจก็คือ self-regulatory activity หรือการที่มาตรฐานภายในส่งผลต่อแรงจูงใจและพฤติกรรม เขาศึกษาผลของความเชื่อของคนเราเกี่ยวกับตนเอง ต่อความคิด การเลือก ระดับแรงจูงใจ ความพากเพียร และความอ่อนไหวต่อความเครียดละความซึมเศร้า